การดำเนินงาน

การดำเนินงานฟาร์มตัวอย่างบ้านขุนแตะได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้  3  ขั้นตอนด้วยกัน  คือ

การดำเนินงานด้านการผลิต
     ฟาร์มตัวอย่างบ้านขุนแตะได้มีการผลิตพืชและสัตว์หลากหลายชนิดโดยมีเป้าหมาย 

    ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตพืชและสัตว์  มีดังนี้

              การเลี้ยงสัตว์ปีก  เช่นไข่ไก่  ไก่พื้นเมือง  และเป็ดเทศปัจจุบันราษฎรได้นำพันธุ์เป็ดเทศ
และไก่พื้นเมืองไปเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน  เหลือจากบริโภคได้นำไปขายสร้างรายได้
                การเลี้ยงสุกร  มี  2  พันธุ์  คือ  สุกรลูกผสมจินหัว  เลี้ยงเพื่อนำมาแปรรูปเป็นแฮม  และหมูแดดเดียว  ส่วนสุกรเหมยซานลูกผสม  ได้ส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงไว้สำหรับบริโภคในชุมชนและจำหน่วยบางส่วน
                การเลี้ยงสัตว์น้ำ  เช่น  ปลานิล  ปลาไน  ปลาแก้วช้ำ  กบเปอะ  กบภูเขา  เป็นการเลี้ยงเพื่อสาธิตส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งได้ส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงไว้สำหรับบริโภคขณะนี้มีราษฎรผู้เลี้ยงปลาไว้บริโภค  รวม  168  ราย
                การผลิตผัก  เพื่อบริโภคและจำหน่วย  เช่น  โปยเล้ง  เรดิซีโอ  สลัก  กระหล่ำ  เบบี้แครอท  ผักการขาว  กุยฉ่ายใบ-ดอก  ชาโยเต้  ชาใบหม่อน
                ผลิตพืชสมุนไพร  เพื่อใช้และจำหน่ายในชุมชน  จำนวน  570  ชนิด
                ผลิตพืชไร่  กาแฟ  จำนวน  15  ไร่

การดำเนินงานด้านการตลาด
                ฟาร์มตัวอย่างฯ  บ้านขุนแตะ  จะทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ก่อนนำสู่ตลาด  และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์  โดยเฉพาะผักของฟาร์มจะมีการตรวจสารพิษตกค้าง  โดยกรมวิชาการเกษตรกลุ่ม  GAP 
                สินค้าที่ฟาร์มตัวอย่างฯ  ผลิตและจำหน่วยตลอดทั้งปี  คือ  ไข่ไก่, ชาใบหม่อน, ผักปวยเล้ง, กุยฉ่ายดอก, กุบฉ่ายใบ, ซาโยเต้
                สินค้าที่ราษฎรในพื้นที่ผลิตเพื่อบริโภคและจำหน่วยเองคือ  เป็ด, ไก่, สุกรเหมยซาน
                สินค้าจะจำหน่วยให้เกษตรกรถูกกว่าท้องตลาด  บางส่วนจำหน่วยให้กับโรงเรียนเพื่อผลิตอาหารกลางวัน  หากมีผลผลิตมากจำนำไปจำหน่วยที่แผงตลาดจอมทอง  โรงพยาบาลและส่วนราชการในอำเภอจอมทอม  ตลอกจนจัดส่งไปจำหน่วยในจังหวัดเชียงใหม่

การดำเนินงานด้านการเรียนรู้
                การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ฟาร์มตัวอย่างบ้านขุนแตะฯ  ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก  ในขณะที่ทำการส่งเสริมก็จะให้ราษฎรได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ  กันเน้นให้ความรู้เพื่อให้เกิดทักษะ  โดยเฉพาะด้านการผลิตพืชและสัตว์ในฟาร์ม  ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มทักษะอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเข้าไปด้วย

ช่างยนต์เล็ก  จำนวน  20  คน  มอเตอร์ไซด์  เครื่องสูบน้ำ  อบรมวิชาทอผ้ากี่เอว  จำนวน  20  คน  จบอบรมผู้เรียนสามารถสร้างลวดลายใหม่ๆ  และนำมาดัดแปลงทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่วยได้หลากหลายรูปแบบ

เรียนจำนวน  22  คน  เป็นการเรียนเพื่อส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
                การส่งเสริมให้ราษฎรได้เรียนรู้ทักษะการเลี้ยงสัตว์  ปลูก  ทักษะอาชีพต่างๆ  ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียนให้แก่ราษฎร  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น