รายละเอียดข้อมูลของสถานีที่ดำเนินการอยู่ตามหมู่บ้านเป้าหมาย
ก.  ข้อมูลพื้นฐาน

1.  ชื่อหมู่บ้าน  บ้านห้วยมะนาว  หมู่ที่  4  ตำบลดอยแก้ว  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่

2.  ที่ตั้งพิกัด  MA  485293 ระวาง  4745  IV   ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  1083  เมตร

3.  ประวัติความเป็นมา
                เมื่ออดีตที่ผ่านมาหมู่บ้านได้ตั้งอยู่ที่  บ้านห้วยขนุน  ต่อมาย้ายไปอยู่ที่  แตะหล่าคลือกิว  และในปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านห้วยมะนาว
4.  ภูมิประเทศ
                -  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
                -  สภาพป่า  เป็นป่าดิบเขา

5.  สภาพอากาศ
                หนาวเย็นตลอดปี  ฤดูฝนมีฝนตกชุก

6.  ประชากร 
เผ่าระเหรี่ยง  60  ครัวเรือน   ประชากร  211  คน
                ชาย  121  คน  หญิง  90  คน

7.  การปกครอง
                กำนัน  นายนพพร               นามเทพ
                ผู้ใหญ่บ้าน  นายพะโด่     สงวนศรีปรีชา
                สมาชิกอบต.  นายสิงห์       ระพีแจ่มจรัส,     นายกิตติวัฒน์     เจริญรัตน์กมล

8.  ศาสนา
 พุทธ / คริสต์

9.  การศึกษา
                โรงเรียน  1  แห่ง
                ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็ก  1  แห่ง

10.  เศรษฐกิจ
                -  อาชีพ  ทำนา / ทำไร่  / รับจ้าง
                -  รายได้เฉลี่ย  5,200  บาท /  ครอบครัว / ปี

11.  สาธารณูปโภค
                -  ถนนลูกรัง
                -  ประปา  1  แห่ง
                -  ไฟฟ้า  โซล่าเซล

12.  การคมนาคม
                -  ถนนลูกรัง         ระยะจาก  อำเภอจอมทอง  ประมาณ  30  กิโลเมตร

13.  วัฒนธรรม
                กลุ่มสตรีทอผ้าโครงการศิลปาชีพ
               
14.  สภาพปัญหา  ความต้องการของชุมชน
                -  ราษฎรต้องการอาชีพเสริมเลี้ยงสุกร  โค  กระบือ
                -  ทอผ้า

 

รายละเอียดข้อมูลของสถานีที่ดำเนินการอยู่ตามหมู่บ้านเป้าหมาย
ก.  ข้อมูลพื้นฐาน

1.  ชื่อหมู่บ้าน  บ้านขุนแตะ   หมู่ที่  5  ตำบลดอยแก้ว  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่

2.  ที่ตั้งพิกัด  MA  474334   ระวาง  4745  IV  ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  1200  เมตร

3.  ประวัติความเป็นมา
                บ้านขุนแตะเป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา  เผ่ากะเหรี่ยง  (สีกอร์)  ซึ่งจากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าว่า  การเข้ามาตั้งหมู่บ้านอดีตในเขตลุ่มน้ำขุนแตะนั้น  นานกว่า  200  ปี  ก่อนแล้ว  ย้ายมาจาก(แดลอโหน่ลอซิ)  ลุ่มน้ำขุนยะ  ส่วนหนึ่งย้ายมาจากบ้านป่าเกี๊ยะใน  (แดลอพะโดะ)  ลุ่มน้ำแม่เตี๊ยะ  เนื่องจากเกิดโรคฝีดาษระบาดอย่างหนัก  มีคนตายเป็นจำนวนมาก  ขณะนั้นโดยมีนายปู่กะ  (ปอจือโพ)  เป็นผู้นำหมู่บ้านได้ไปทำสัญญาขออนุญาตตั้งหมู่บ้าน  จากเจ้าเมืองเชียงใหม่
                จากอดีตถึงปัจจุบัน  ได้มีการย้ายที่ตั้งหมู่บ้าน  อยู่เป็นประจำ  ดังเห็นจากหลักฐาน  ที่ตั้งหมู่บ้านเก่า  หรือแดลอในอดีตมากกว่า  15  จุด  ทั้งนี้  เนื่องจากประเพณีวิถีชีวิตการดำรงชีพตามความเชื่อของชุมชน  และผู้นำชุมชน  (ฮี่โข่)  ในสมัยนั้น  ได้มีการย้ายครั้งสุดท้าย  (แดลอต่าควะปู)  เพราะเกิดโรคหัดเยอรมันระบาดอย่างหนัก  และคนตายเป็นจำนวนมาก  จึงมีชุมชนกลุ่มหนึ่งย้ายไปตั้งหมู่บ้าน  (ป่าเกี๊ยะนอก)  และอีกกลุ่มหนึ่งที่เหลือขึ้นมาตั้งหมู่บ้าน  บ้านขุนแตะ  ปัจจุบันพื้นที่หมู่บ้านขุนแตะจากหลักฐานก็มีสุสานล๊วะ  (เต๊อะหว่าโล)  อยู่ตามที่ต่างๆ  มากกว่า  20  ชุด  ได้สันนิฐานว่าในอดีตนั้นก็เคยมีคน  (ล๊วะ)  ได้เข้ามาอาศัยสมัยหนึ่ง

4.  ภูมิประเทศ
                -  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
                -  สภาพป่า  เป็นป่าดิบเขา
                -  สภาพหมู่บ้าน  ตั้งอยู่ตามเชิงเขา
                -  สภาพอาชีพ  ทำนา  ทำไร่  รับจ้าง

5.  สภาพอากาศ
                หนาวเย็นตลอดปี  ฤดูฝนมีฝนตกชุก

6.  ประชากร
                เผ่ากระเหรี่ยง  จำนวน  133  ครัวเรือน  ประชากร  647  คน
                ชาย  321  คน  หญิง  326  คน

 

7.  การปกครอง
                กำนัน  นายนพพร               นามเทพ
                ผู้ใหญ่บ้าน  นายดวงดี        ทองบือ
                สมาชิก  อบต.  1.  นายสาวิตร์      นิยมยอดคีรี
                                           2.  นายบุญดี               เกษตรสุขใจ

8.  ศาสนา
  พุทธ / คริสต์

9.  การศึกษา
                ประถมศึกษา

10.  เศรษฐกิจ
                -  อาชีพ  ทำนา / ทำไร่ / รับจ้าง
                -  รายได้เฉลี่ย  2,000 – 3,000 บาท / ครอบครัว / ปี

11.  สาธารณูปโภค
                -  โรงเรียน                            1              แห่ง
                -  วัด                                       1              แห่ง
                -  ประปา                               1              แห่ง
                -  โทรศัพท์สาธารณะ         2              แห่ง
                -  ไฟฟ้า  โซล่าเซล

12.  การคมนาคม
                -  ถนนลูกรัง         ระยะการเดินทาง  จาก  อำเภอจอมทอง  ถึง  บ้านขุนแตะประมาณ  28  กิโลเมตร

13.  วัฒนธรรม
                กลุ่มสตรีทอผ้าโครงการศิลปาชีพ
               
14.  สภาพปัญหา  ความต้องการของชุมชน
                -  ราษฎร  ต้องการพื้นที่ทำกิน
                -  ขาดไฟฟ้า
                -  ถนนลาดยาง

 

รายละเอียดข้อมูลของสถานีที่ดำเนินการอยู่ตามหมู่บ้านเป้าหมาย
ก.  ข้อมูลพื้นฐาน

1.  ชื่อหมู่บ้าน  บ้านหินเหล็กไฟ   หมู่ที่  4  ตำบลดอยแก้ว  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่

2.  ที่ตั้งพิกัด  MA  846297  ระวาง  4745  IV  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  1322  เมตร

3.  ประวัติความเป็นมา
                บ้านหินเหล็กไฟ  เป็นหมู่บ้านปกาเกอญหรือกะเหรี่ยงสะกอร์  ที่ย้ายมาจากแดลอ (ที่ตั้งหมู่บ้านเก่า)  6  แห่งด้วยกัน  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน  บ้านหินเหล็กไฟ  มาจากแดลอพะโดะคือป่าเกี๊ยะนอก  ปัจจุบัน  เดิมแดลอแห่งนี้เป็นชุมชนใหญ่และเป็นหมู่บ้านศูนย์กลางของคนในบริเวณนี้  ทุกปีจะมีการประกอบพิธี  “โฆ่”  หรือเจดีย์  พิธีนี้จะเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชุมชน  ต่อมาคนเริ่มมากขึ้นและมีความคิดที่แตกต่างกันจึงมีการอพยพออกไปตามที่ที่ตนเองพอใจและเห็นว่าดีกว่า
                กลุ่มต่างๆ  ที่แยกย้ายออกไปได้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยส้มป่อย  ห้วยมะนาว  ห้วยขนุน  2  ห้วยขนุน  3  และบ้านหินเหล็กไฟ  และกลุ่มที่มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหินเหล็กไฟมี  2  ตระกูล  คือตระกูลหลื่อเคบอป่า  และตระกูลพือเก่อหว่า  ตระกูลหลื่อเคบอป่าและลูกหลานได้ตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มแรกและเป็น  “ฮี่โข่”  (ผู้นำทางจิตวิญญาณ)  สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  ต่อมาตระกูลพือเก่อหว่าและลูกหลานได้ย้ายตามมา  อยู่ได้ไม่นานตระกูลพือเก่อหว่าได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านสามหลังในปี  2536

4.  ภูมิประเทศ
                -  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
                -  สภาพป่า  เป็นป่าดิบเขา
                -  สภาพหมู่บ้าน  ตั้งอยู่ตามเชิงเขา
                -  สภาพอาชีพ  ทำนา  ทำไร่  รับจ้าง

5.  สภาพอากาศ
                หนาวเย็นเกือบตลอดปี 

6.  ประชากร
                จำนวน  70  ครัวเรือน  ประชากร  343
                ชาย  103  คน  หญิง  240  คน

7.  การปกครอง
                กำนัน  นายนพพร               นามเทพ
                ผู้ใหญ่บ้าน  นายพะโด่      สงวนศรีปรีชา
                สมาชิกอบต.  นายสิงห์       ระพีแจ่มจรัส,     นายกิตติวัฒน์     เจริญรัตน์กมล

8.  ศาสนา
 พุทธ / คริสต์

9.  เศรษฐกิจ
                -  อาชีพ  ทำการเกษตรกรรม  / รับจ้าง

10.  สาธารณูปโภค
                -  วัด                                       1              แห่ง
                -  ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก               1              แห่ง

11.  การคมนาคม
                -  ถนนลูกรัง         ระยะจาก  อำเภอจอมทอง  ประมาณ  30  กิโลเมตร

12.  วัฒนธรรม
                กลุ่มสตรีทอผ้าโครงการศิลปาชีพ
               
13.  สภาพปัญหา  ความต้องการของชุมชน
                -  สถานีอนามัย
                -  ขาดไฟฟ้า
                -  ถนนลาดยาง
                -  เอกสารสิทธิที่ทำกิน

 

รายละเอียดข้อมูลของสถานีที่ดำเนินการอยู่ตามหมู่บ้านเป้าหมาย
ก.  ข้อมูลพื้นฐาน

1.  ชื่อหมู่บ้าน  บ้านห้วยส้มป่อย หมู่ที่ 8 ตำบลดอยแก้ว  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่

2.  ที่ตั้งพิกัด  MA 506312   ระวาง  4745  IV  ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  1200  เมตร

3.   ประวัติความเป็นมา
                -

4.  ภูมิประเทศ
                -  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
                -  สภาพป่า  เป็นป่าดิบเขา
                -  สภาพประกอบอาชีพ  ทำนา  ทำไร่  รับจ้าง

5.  สภาพอากาศ
                หนาวเย็นตลอดปี   ฤดูฝน  ฝนตกชุก

6.  ประชากร 
เผ่าระเหรี่ยง  125  ครัวเรือน  ประชากร  568  คน
                ชาย  283  คน  หญิง  285 คน

7.  การปกครอง
                กำนัน  นายนพพร               นามเทพ
                ผู้ใหญ่บ้าน  นายพรชัย       เสรีย์ดวงใจ
                สมาชิกอบต.  นายเนตร      ไพรคีรีพฤกษา,     นายบรรจง           มหรรพรนนท์ไพร

8.  ศาสนา
 พุทธ / คริสต์

9.  การศึกษา
                ประถมศึกษา

10.  เศรษฐกิจ
                -  อาชีพ  ทำนา / ทำไร่  / รับจ้าง
                -  รายได้เฉลี่ย  1,000  บาท /  เดือน / คน

11.  สาธารณูปโภค
                -  โทรศัพท์สาธารณะ         2              แห่ง
                -  ประปาภูเขา      2              แห่ง
                -  ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์

12.  การคมนาคม
                -  ถนนลูกรัง         ระยะจาก  อำเภอจอมทอง  ประมาณ  30  กิโลเมตร

13.  วัฒนธรรม
                กลุ่มสตรีทอผ้าโครงการศิลปาชีพ
               
14.  สภาพปัญหา  ความต้องการของชุมชน
                ความต้องการของชุมชน  ไฟฟ้า  ถนนลาดยาง  สถานีอนามัย

 

รายละเอียดข้อมูลของสถานีที่ดำเนินการอยู่ตามหมู่บ้านเป้าหมาย
ก.  ข้อมูลพื้นฐาน

1.  ชื่อหมู่บ้าน  บ้านห้วยขนุน   หมู่ที่  9  ตำบลดอยแก้ว  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่

2.  ที่ตั้งพิกัด  MA  528299  ระวาง  4745  IV  ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  1250  เมตร

3.  ประวัติความเป็นมา
                บ้านห้วยขนุน  เป็นหมู่บ้านปกาเกอญอ  ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตลุ่มน้ำแม่เตี๊ย  มี  3  หย่อม  แต่เดิมได้อาศัยอยู่ที่เดลอผะโตะปู  ได้เกิดโรคระบาดทำให้คนในหมู่บ้านเจ็บป่วย  ล้มตาย  คนในหมู่บ้านจึงได้ย้ายไปตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่  บางส่วนย้ายไปอยู่บ้านป่าเกี๊ย  บางส่วนย้ายไปอยู่บ้านห้วยมะนาว  และส่วนหนึ่งได้ย้ายมาอยู่บ้ายห้วยขนุนซึ่งเป็นหมู่บ้านในปัจจุบัน

4.  ภูมิประเทศ
                -  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
                -  สภาพป่า  เป็นป่าดิบเขา
                -  สภาพหมู่บ้าน  ตั้งอยู่ตามเชิงเขา
                -  สภาพอาชีพ  ทำนา  ทำไร่  รับจ้าง

5.  สภาพอากาศ
                หนาวเย็นตลอดปี  ฤดูฝนมีฝนตกชุก

6.  ประชากร
                เผ่ากระเหรี่ยง  จำนวน  79  ครัวเรือน  ประชากร  240  คน
                ชาย  128  คน  หญิง  112  คน

7.  การปกครอง
                กำนัน  นายนพพร               นามเทพ
                ผู้ใหญ่บ้าน  นายสมอ้วน    บุหงาสวรรค์
                สมาชิกอบต.  นายมีชัย        ขวัญใจยอดคีรี,     นายอภิวัฒน์   สุขสันนิพันธ์

8.  ศาสนา
 พุทธ / คริสต์

9.  การศึกษา
                โรงเรียน                1              แห่ง
                ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็ก            1  แห่ง
10.  เศรษฐกิจ
                -  อาชีพ  ทำการเกษตรกรรม / รับจ้าง
                -  รายได้เฉลี่ย  1,500  บาท / คน / เดือน

11.  สาธารณูปโภค
                -  ประปาภูเขา      3              แห่ง
                -  โทรศัพท์            1              แห่ง
                -  ไฟฟ้า  พลังงานแสงอาทิตย์

12.  การคมนาคม
                -  ถนนลูกรัง         ห่างจาก  อำเภอจอมทอง  ประมาณ  40  กิโลเมตร

13.  สภาพปัญหา  ความต้องการของชุมชน
                -  แหล่งน้ำ
                -  เอกสารสิทธิ์  ในพื้นที่ทำกิน
                -  อาชีพ  การทำการเกษตรกรรมแบบยั่งยืน