กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจบนที่สูง โดยศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่  1  กรมวิชาการเกษตร

1. การพัฒนาการผลิตพืชไร่

     1. กิจกรรมพัฒนาการผลิตถั่วแดงหลวง
         ดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ ตลอดจนการใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม สำหรับการปลูกถั่วแดงหลวงพันธุ์หมอกจ๋าม พื้นที่ 30 ไร่ และแปลงขยายผล 271 ไร่ สำหรับถั่วรุ่นที่ 1 (ต้นฤดูฝน) โดยปลูกช่วงเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนสิงหาคม 2550 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 111.2 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งผลผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ระยะถั่วติดดอก-ฝักอ่อน และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ปุ๋ยใด ๆ เสริมเลย (ผลผลิตรวมทั้งสิ้น 30,135 กิโลกรัม) เกษตรกรจำหน่ายและได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 17.70 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนถั่วแดงหลวง รุ่นที่ 2 (ปลายฤดูฝน) ปลูกช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน 2550 พื้นที่ปลูก 306.8  ไร่ การงอก การเจริญเติบโตค่อนข้างสม่ำเสมอดี การติดฝักสมบูรณ์ดี เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใส่ปุ๋ย เมล็ดค่อนข้างสมบูรณ์ได้ผลผลิตเฉลี่ย  138.5  กิโลกรัมต่อไร่  ได้ผลผลิตรวม  57,318  กิโลกรัม  จำหน่ายได้ผลตอบแทน  22  บาทต่อกิโลกรัม

การผลิตถั่วแดงหลวงรุ่น 1 (ต้นฤดูฝน)

Flowchart: Process:            Flowchart: Process:

              แปลงถั่วแดงหลวง                                          การเจริญเติบโตของถั่ว


Flowchart: Process:            Flowchart: Process:                                        การติดดอก                                               ตากผลผลิตรอการนวด

 

Flowchart: Process:

           เมล็ดถั่วแดงหลวงที่สมบูรณ์

     2. กิจกรรมพัฒนาการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมบำรุงดิน
        ดำเนินการปลูกพืชตระกูลถั่ว เน้นพืชอาหาร เพื่อการบริโภคและการปรับปรุงบำรุงดินพื้นที่ทำกินโดยใช้ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 3 ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 รวมพื้นที่ 2 ไร่ จากการให้ความรู้ คำแนะนำวิธีการเตรียมแปลง การปลูกและปฏิบัติดูแลรักษาที่ถูกต้อง – เหมาะสม และการใช้ปัจจัยการผลิตอื่นที่จำเป็น (ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง) ทำให้สามารถได้ผลผลิตที่ดี และเกษตรกรนำผลผลิตไปบริโภคในครัวเรือน

Flowchart: Process:            Flowchart: Process:   

        การเจริญเติบโตของถั่วเหลือง                            การติดฝักถั่วเหลืองพันธุ์ ชม.60


Flowchart: Process:

           การแปรรูปเป็นถั่วเน่า

     3. กิจกรรมพัฒนาการผลิตข้าวโพด
         ดำเนินการเตรียมแปลงและปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม 2550 ใช้ปุ๋ยสูตร  15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่พร้อมปลูก การเจริญเติบโตค่อนข้างดี โดยเกษตรกรนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและเป็นอาหารสัตว์

Flowchart: Process:   

        ข้าวโพดปลูกร่วมระบบกับพืชอื่น

2. การพัฒนาการผลิตพืชศักยภาพอื่น

     1. กิจกรรมพัฒนาการผลิตพืชผัก

ดำเนินการพัฒนาการผลิตพืชสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและเสริมรายได้ เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรและชุมชนพื้นที่โครงการฯ ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจปลูกพืชผักหลากหลายชนิด โดยเฉพาะผักกาดขาว เนื่องจากปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็วและเกษตรกรนิยมบริโภค อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้จากผลผลิตที่เกินความต้องการบริโภคโดยจำหน่ายภายในชุมชนด้วย

Flowchart: Process:            Flowchart: Process:   

                แปลงผักกาดขาว                                    การเจริญเติบโตของผักกาด

     2. กิจกรรมพัฒนาการผลิตเห็ด

     ดำเนินการพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มชนิดอาหารสำหรับครัวเรือนของเกษตรกรและชุมชน โดยให้เกษตรกรได้รับโอกาสเรียน รู้จากการดูงานการผลิตเห็ด จนเกิดความมั่นใจและจัดตั้งกลุ่มการผลิตขึ้น จัดสร้างโรงเรือน จำนวน 1 โรง และผลิตเห็ดนางรมขาว มีผลผลิตเป็นอาหารและรายได้ในที่สุด

Flowchart: Process:            Flowchart: Process:   

           โรงเรือนเห็ดกลุ่มเกษตรกร                                   ผลผลิตเห็ดนางรมขาว


1. งานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้รับความรู้ ประสบการณ์ ทักษะด้านการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ดังนี้

     1. การฝึกอบรม จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้

        1.1 หลักสูตร การปลูกและการจัดการผลิตถั่วแดงหลวง มีเกษตรกรร่วมฝึกอบรมจำนวน 50 ราย และสามารถทดสอบผ่านการประเมินทั้งหมด
        1.2 หลักสูตร การปลูกและการจัดการผลิตพืชผัก มีเกษตรกรร่วมการฝึกอบรม จำนวน 50 ราย และสามารถทดสอบผ่านการประเมินทั้งหมด

     2. การศึกษาและดูงาน เกษตรกรให้ความสนใจด้านการผลิตเห็ด ซึ่งได้รับโอกาสศึกษาดูงานการผลิตเห็ดที่โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย ในองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทำให้เกิดความมั่นใจนำความรู้ดังกล่าวมาดำเนินกิจกรรมโดยสร้างโรงเพาะเห็ด  1 โรง และทำการผลิตเห็ดนางรมขาว มีผลผลิตสำหรับบริโภคและจำหน่ายในชุมชนได้

Flowchart: Process:            Flowchart: Process:                          
        การฝึกอบรมของเกษตรกร                    การศึกษาดูงานการผลิตเห็ด ที่โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย
                                                                                                                  

2. งานพัฒนาการผลิตข้าว  ดำเนินการโดย  ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่  กรมการข้าว 

กิจกรรมที่  1    ทดสอบและสาธิตการผลิตข้าวนาสวนที่สูงแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม (ในพื้นที่นาขั้นบันไดบุกเบิกใหม่)

ผลการทดสอบ

ชื่อพันธุ์

กรรมวิธี (สภาพดินนา)

ความสูง (ซม.)

จำนวนรวงต่อกอ

วันเก็บเกี่ยว

ผลผลิต (กก./ไร่)

ขาหนี่

ด้านบนหน้าดินหมด (H)

131

8

6 ธ.ค. 50

412.0

 

ด้านล่างหน้าดินเพิ่ม (L)

172

8

6 ธ.ค. 50

903.0

ข้าวหลวงสันป่าตอง

ด้านบนหน้าดินหมด (H)

147

6

13 ธ.ค. 50

507.0

 

ด้านล่างหน้าดินเพิ่ม (L)

168

12

13 ธ.ค. 50

970.0

ปิอิเนอมู

ด้านบนหน้าดินหมด (H)

134

7

8 ธ.ค. 50

427.0

 

ด้านล่างหน้าดินเพิ่ม (L)

160

9

8 ธ.ค. 50

799.24

หมายเหตุ    ตกกล้าวันที่  8  มิถุนายน  2550      ปักดำวันที่  12  กรกฎาคม  2550

กิจกรรมที่  2     การผลิตและการกระจายข้าวที่สูงพันธุ์ดี

ผลการทดสอบ
        ดำเนินการในลักษณะคัดเลือกพันธุ์ใหม่บริสุทธิ์โดยปักดำหนึ่งรวงต่อหนึ่งแถว  จำนวน  1,000  รวง  เก็บผลผลิตได้  300  กิโลกรัม  หรือสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ดีปลูกในฤดูต่อไป
ปริมาณข้าวที่ผลิตได้เวลา  4  ปี  (ข้อมูลยังได้ไม่ครบถ้วน)

ลำดับ

ปี

ผลผลิต (กิโลกรัม)

ข้าวไร่

ข้าวนาสวน

รวม

1

2547/48

31,524

13,404

44,928

2

2548/49

45,524

34,092

79,616

3

2549/50

37,070

31,030

68,100

4

2550/51

47,370

28,470

75,840

 

การเตรียมดินแปลงกล้าปักดำ ข้าวนาสวนที่สูงที่เป็นลักษณะ นาขั้นบันไดในพื้นที่โครงการฯ

 

  

พันธุ์ปิอิเนอมู(SPTC02020)  พันธุ์ข้าวเหนียวที่สูงอยู่ในระยะโน้มรวง

พันธุ์ข้าวหลวงสันป่าตอง อยู่ในระยะโน้มรวง

พันธุ์ขาหนี่(SPTC04005)   พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในท้องถิ่นอยู่ในระยะโน้มรวง

��
3. การแบ่งกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาที่สูง  (แบบขั้นบันได)
เป็นเขต  หรือโซนการปลูกข้าวตามสภาพการบริหารจัดการโดยถือผู้นำชุมชนเป็นหลัก  เพื่อง่ายและสะดวกในการติดตามงาน  ทั้งด้านการแก้ไขปัญหาและการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือปัจจัยการผลิตตลอดจนให้คำแนะนำ
                  -    แบ่งเป็น  5  กลุ่มโซน
                  -    จำนวนผู้ปลูกข้าว  46  ราย
                  -    รวมพื้นที่ปลูกข้าว  74  ไร่  (นาเก่าและนาใหม่)


Text Box:  Text Box:  Text Box:  ��