กิจกรรมพัฒนาการป่าไม้

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16  กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช รับผิดชอบ  ดำเนินงานในพื้นที่โครงการ  จำนวน  2  กิจกรรมคือ  กิจกรรมอำนวยการและบริหารโครงการและกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม  ผลการดำเนินงาน    มีดังนี้

1.1  กิจกรรมอำนวยการและบริหารโครงการ
      1. ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับคณะทำงานในการปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ
      2. ประชุมประจำเดือนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการฯและประชุมร่วมกับราษฎรเพื่อรับทราบปัญหาต่างๆ และพิจารณาให้ความช่วยเหลือ เป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง
      3. จัดให้มีการสำรวจทรัพยากรพร้อมทั้งลาดตระเวนป้องกันรักษาป่า ร่วมกับชุดประสานการคุ้มครองและป้องกันชุมชน และราษฎรในโครงการฯ

Text Box:  Text Box:  Text Box:

 

 

 

 

Text Box:  Text Box:

 


               

 

 

 

      4.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับราษฎรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อขัดข้องต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือราษฎรต่อไป
      5.จัดกิจกรรมในวันสำคัญ ต่างๆ เช่น กิจกรรมงานวัน 12 สิงหามหาราชินี เป็นต้น
      6.  สนับสนุนกลุ่มเพาะเลี้ยงหมูป่า จำนวน 1 กลุ่ม ราษฎรเข้าร่วมโครงการจำนวน 9  ครัวเรือน
      7.  จัดทำระบบน้ำเพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่ทำการเกษตรให้ราษฎรในการเพาะปลูก
เช่น  พื้นที่นาดำ
      8.  สนับสนุนงานด้านศิลปาชีพ เช่น ทอผ้า เครื่องเงิน จักสาน  เป็นต้น
      9. สนับสนุนงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน และงานด้านการศึกษา โดยสนับสนุนบุคลากรเป็นครูผู้สอน จำนวน 2 อัตรา

Text Box:  Text Box:  Text Box:

               

 

 


         
      10.  ดูแลรับผิดชอบแปลงขยายพันธุ์ยางพารา จำนวน 50 ไร่
      11. จัดฝึกอบรมให้ความรู้กับราษฎรและนำราษฎรไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ
      12. จัดสร้างอาคารพยาบาล  จำนวน  1  หลัง
      13. ปรับปรุงภูมิทัศน์  ดูแลรักษาอาคารสถานที่  ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ และที่พักของโครงการ
      14.  บำรุงรักษายานพาหนะของโครงการฯ
      15.  ดูแลรับผิดชอบธนาคารข้าวของหมู่บ้าน  จำนวน  1  แห่ง
      16.  สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Text Box:  Text Box:

 

 

 

 

 

 

Text Box:  Text Box:

 

 

 

 

 


1.2  กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม

      1.2.1  การปลูกป่า พื้นที่บ้านนาศิริเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ปัจจุบันถูกบุกรุกทำลายเพื่อทำไร่เลื่อนลอยเป็นบริเวณกว้าง ป่ามีสภาพที่เสื่อมโทรมจึงจำเป็นต้องมีการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำให้ได้ผลโดยเร็ว  โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ได้ดำเนินการปลูกป่าดังนี้                                             

Text Box:

 

 

 

 


      1)  ปลูกป่าไม้ใช้สอย จำนวน 50 ไร่ สำหรับเป็นไม้ใช้สอย ไม้ฟืน และไม้กินได้ ชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น ประดู่ นางพญาเสือโคร่ง ตีนเป็ด สัก ไผ่หก ไผ่ซางนวล หวาย ฯลฯ อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี
      2)  ปลูกป่าทั่วไป จำนวน 150 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น สนสามใบ นางพญาเสือโคร่ง ตีนเป็ด อินทนิล ฯลฯ อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี                                             
      3)  ปลูกสร้างสวนป่าหวาย จำนวน 200 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารหรือนำมาจักสานเป็นหัตถกรรมในครัวเรือนเสริมรายได้ให้กับราษฎรในโครงการ
      4)  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ จำนวน 300 ไร่ ปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าให้คืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์โดยเร็ว ชนิดไม้ที่ปลูก เช่น นางพญาเสือโคร่ง ประดู่ ไผ่ ตีนเป็ด ฯลฯ
      5)  บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี จำนวน 200 ไร่
      6)  บำรุงป่าไม้ใช้สอย จำนวน 600 ไร่
      7)  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำปีที่ 2-6 จำนวน 650 ไร่
      8)  เพาะชำกล้าไม้มีค่า
      9)  จัดทำแนวกันไฟ  10 กิโลเมตร

Text Box:  Text Box:  Text Box:

 

 

 

 

 

 

Text Box:  Text Box:

 

 

 

 

 

 

      ผลแห่งการปลูกฟื้นฟูป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชุมชนในการดำรงชีวิต ทั้งในด้านการผลิตเกษตรกรรม และการใช้ประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์เกื้อกูลกันระหว่างชุมชนกับทรัพยากรลุ่มน้ำ ก่อให้เกิดประโยชน์จากการพัฒนาป่า 4 ประการ คือ ราษฎรมีไม้ไว้ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน มีไม้ฟืนเพื่อเป็นเชื้อเพลิง มีแหล่งอาหารที่มีคุณค่า ปราศจากสารพิษ และยังช่วยประหยัดเงินในการใช้จ่ายในการซื้อหาอาหาร เป็นการลดอัตราค่าครองชีพ และทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำ และอนุรักษ์ป่า อย่างยั่งยืน

      1.2.2  การพัฒนาป่าด้วยระบบฝายต้นน้ำ

Text Box:  Text Box:

 

 

 

 

 

      1) จัดทำฝายขนาดเล็กแบบผสมผสาน (Check dam) จำนวน 120 แห่ง บริเวณพื้นที่ที่มีร่องน้ำร่องห้วยตามธรรมชาติ ได้ดำเนินการ สร้างฝายต้นน้ำลำธารด้วยวัสดุในท้องถิ่นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยสร้างกั้นร่องน้ำร่องห้วยเป็นระยะๆ เพื่อชะลอการไหลของน้ำ มิให้เกิดความรุนแรง ในการชะล้างหน้าดิน และสร้างความชุ่มชื้นแก่สภาพแวดล้อมบรรยากาศได้ การชะลอการไหลของน้ำจะเกิดขึ้นในระยะแรกและหลังจากปีที่ 2-3 ตะกอนดินหน้าฝายจะทำให้ฝายอุดตันและสามารถกักเก็บน้ำได้ พิจารณาผันน้ำทั้งสองทางของฝายเพื่อกระจายความชุ่มชื้นเข้าสู่ป่าเป็นประโยชน์ ต่อการเจริญเติบโตของลูกไม้ ทำให้เกิดการพัฒนาป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      2) จัดทำฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร จำนวน 2 แห่ง โดยฝายบางแห่งยังสามารถสนับสนุนน้ำให้กับราษฎรในการทำเกษตรกรรม เช่น ทำนา และปลูกพืชผลทางการเกษตร จนทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

Text Box:
    

 

 

 


แผนที่โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านนาศิริ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตราส่วน 1: 50,000
ระวางแผนที่  4748 II


                              N