เป้าหมายของโครงการ

  1. ศึกษาด้านนิเวศวิทยา แหล่งกำเนิด และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของกล้วยไม้ป่าที่ขึ้นตามธรรมชาติแต่ละชนิด  เช่น  ความสูงจากระดับน้ำทะเล  ชนิดของพืชที่อาศัย ความเข้มของแสง และสภาพพื้นที่  เนื่องจากพืชบางชนิดมีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน  เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการนำกล้วยไม้กลับคืนสู่ป่าที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตต่อไป
  2. รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทยที่มีอยู่ในพื้นที่ของโครงการฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนกล้วยไม้ที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์ จำเป็นที่จะต้องจัดหารวบรวม ดูแลรักษาและขยายพันธุ์อย่างเร่งด่วน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทยไว้แล้วหลายสิบสกุลและจำนวนหลายร้อยชนิด  เช่น  เอื้องคำปากไก่  เอื้องแซะ  เอื้องเงินหลวง  เอื้องตาเหิน  ฟ้ามุ่ย  รองเท้านารี  เป็นต้น
  3. จำแนกสายพันธุ์  ทำพันธุ์ประวัติ  เช่น  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  การ เจริญเติบโต  การเจริญของดอก  ตลอดจนลักษณะพิเศษ  เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าและการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
  4. การขยายพันธุ์  กล้วยไม้บางชนิดเจริญเติบโตรวดเร็ว  อาจจะใช้วิธีขยายพันธุ์โดยการแยกกอ  บางชนิดเหมาะสมสำหรับการเพาะเมล็ด แต่บางชนิดต้องใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนยอดหรือตาข้าง เป็นต้น เป้าหมายของการขยายพันธุ์  ตลอดโครงการฯ จำนวน  500,000 – 2,000,000  ต้น  สายพันธุ์กล้วยไม้ไทยที่จำเป็นต้องอนุรักษ์และขยายพันธุ์  คือ
  5.       -   สกุล   Dendrobium                                                         จำนวน        10     ชนิด
          -   สกุล   Cymbidium                                                           จำนวน        18     ชนิด
          -   สกุล   Paphiopedilum                                                      จำนวน        18     ชนิด
          -   สกุล   Cymbidium                                                          จำนวน          5     ชนิด
          -   สกุล   Coelogyne                                                           จำนวน          5     ชนิด
          -   สกุล   Ascocentrum                                                        จำนวน          3     ชนิด
          -   สกุล   Rhynchostylis                                                        จำนวน          5     ชนิด
          -   สกุล   Vanda                                                                จำนวน        11     ชนิด
          -   สกุล   Vanilla                                                                จำนวน          1     ชนิด
          -   หมวด   Basitonae                                                          จำนวน        40     ชนิด
               (รวมกล้วยไม้ดินทั้งหมด)
          -สกุลอื่น ๆ

  6. ศึกษาวิธีการเลี้ยงดูต้นพันธุ์และต้นอ่อน  ที่ขยายพันธุ์มาใหม่  ศึกษาวัสดุปลูกตลอดจนอายุที่เหมาะสมของกล้วยไม้แต่ละชนิดสำหรับการนำไปปลูกในป่า
  7. นำต้นที่ขยายพันธุ์ขึ้นมาใหม่  คืนสู่ธรรมชาติหรือป่าที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  โดยเริ่มดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2538  เป็นต้นมา
  8. ติดตาม  ศึกษาความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  และประเมินผลในด้านการเจริญเติบโตและอัตราการอยู่รอดหลังจากนำไปปลูกแล้วอย่างสม่ำเสมอ
  9. จัดทำเอกสารเผยแพร่ และทำการประชาสัมพันธ์โครงการฯ  เพื่อปลูกจิตสำนึกและความรับผิดชอบร่วมกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ  ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์
  10. ศึกษาการสกัดน้ำหอมจากเอื้องแซะ   โดยขบวนการไม่ใช้สารเคมี    ตามแนวพระราชดำริรวมทั้งการสกัด DNA