ผลการดำเนินงานตามแผนงาน
                กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
— จะจัดทำเอกสารวิชาการของพันธุกรรมพืชที่ได้สำรวจแล้วทั้งหมด
— สำรวจและวินิจฉัยชื่อของพันธุกรรมพืช ในพื้นที่ใกล้เคียงเพิ่มเติม ในเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่
— จัดทำทะเบียนพันธุกรรมพืชเพิ่มเติมอีกประมาณ 100 ชนิด
— จัดทำป้ายชื่อต้นไม้เพื่มเติม อีกประมาณ 300 ชนิด
                กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
— สำรวจและเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช รวมทั้งเก็บรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพฤกษศาสตร์  เพิ่มเติมจากเดิมให้ครบถ้วนในพื้นที่หมู่บ้านรอบโครงการจำนวน 30 หมู่บ้าน
— ศึกษาและวินิจฉัยชื่อความหลากหลายของเห็ดราเพิ่มเติม
— ศึกษาชนิดของพรรณไม้น้ำเพิ่มเติม
                กิจกรรมปลูก รักษาพันธุกรรมพืช
— ดำเนินงานต่อเนื่องจากในพื้นที่รวบรวมพืชสมุนไพร โดยการจัดทำป้ายชื่อ ทะเบียนประวัติ ประมาณ 100 ชนิด
— ศึกษาการเจริญเติบโตของพืชอื่นๆที่คาดว่าจะมีประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น พืชที่ใช้กำจัดแมลงประมาณ 10 ชนิด
— การขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจ โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพิ่มเติมอีกประมาณ 10 ชนิด
                กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
— การวิเคราะห์ทางเคมีของพืชสมุนไพรที่ได้ขยายพันธุ์ไว้ เช่น เจตมูลเพลงแดง ขมิ้นชัน ดีปลี บุก
— ศึกษาการขยายพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จำนวน 5 ชนิด
— ตรวจสอบและจำแนกสายพันธุกรรม โดยเทคนิคทางชีวโมเลกุลของพืช 5 ชนิด
— ศึกษาด้านกายวิภาคของพืชจำนวน 5 ชนิด
— เก็บรวบรวมสายพันธุ์พืช ที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จำนวน 5 ชนิด
                กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
— จัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้แห้งเพิ่มเติม ให้ครบทุกชนิดที่สำรวจได้ในพื้นที่
— จัดทำข้อมูลพันธุกรรมพืช
                กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
— งานจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ (สวนรุกขชาติ) ในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำ 40 ไร่
— จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพิ่มเติม
— จัดทำพื้นที่นันทนาการเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
— จัดทำสื่อความหมายในการอนุรักษ์เพิ่มเติมในพื้นที่สวนรุกขชาติ
                2. ดำเนินการกิจกรรมในชุมชน โดยจัดทำโครงการ ดังนี้
                    - โครงการการผลิตพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแบบครบวงจร
                    - การจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ เส้นทางศึกษาและจัดทำป้ายสื่อความหมาย ในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำ
                   - โครงการศักยภาพของการใช้เฟินในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในการลดสารพิษที่ปนเปื้อนในดิน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเฟินในโครงการฯ ในการกำจัดสารหนูและตะกั่วที่ปนเปื้อนในดิน เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์แบบยั่งยืน
                   - การศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในพื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้านโปง
                   - การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช แลการใช้พื้นที่ป่าอย่างมีประสิทธิภาพจากรากฐานทางวัฒนธรรมของชุมชน
                   - โครงการสวนสมุนไพร ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้