โครงการโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านสบหาด

ความเป็นมา/พระราชดำริ

เมื่อประมาณ 70 กว่าปี  ที่ผ่านมาได้มีนายกาเดอ  นำราษฎร จำนวน   4  ครอบครัว  ย้ายมาอยู่ใกล้บริเวณที่มีแม่น้ำ  3  สาย  ไหลลงมารวมกัน และตั้งเป็นหมู่บ้านกาเดอ (บ้านสบหาดเก่า)  ต่อมาเมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  กอปรกับที่ตั้งหมู่บ้านเดิมมีปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค  และพื้นที่ทำนาส่วนใหญ่อยู่คนละฝั่งลำน้ำ มีความยากลำบากในการข้ามแม่น้ำไปทำการเกษตรโดยเฉพาะในฤดูฝน  ทำให้เมื่อประมาณ  10  กว่าปีที่ผ่านมา ราษฎรบ้านกาเดอ  จึงเริ่มทยอยเดินทางข้ามแม่น้ำมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณบ้านสบหาดในปัจจุบัน  และราษฎรส่วนที่เหลือได้ย้ายติดตามมาจนหมดในอีก  4-5  ปีต่อมา
เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านสบหาด  หมู่ที่  14  ตำบลแม่ตื่น   อำเภออมก๋อย  จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยทรัพยากรธรรมชาติ และประสงค์ที่จะให้พสกนิกรบนพื้นที่สูงสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูล
2. อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารให้คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ  โดยที่คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในชุมชน  ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามความเหมาะสมของท้องถิ่นและมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม
4. ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและรักษาพื้นที่ต้นน้ำลำธารต่อไป

เป้าหมายโครงการ

1.ดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารให้กลับฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ  และ สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในด้านต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญ  ให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขตามสภาพภูมิสังคมและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น
3. รณรงค์ส่งเสริมสร้างความรู้  ความเข้าใจให้ชุมชนเกิดความตระหนักและช่วยกันรักษาไว้ซึ่ง ทรัพยากรโดยชุมชนมีส่วนร่วม

งบประมาณ

1  งบปกติ                              จำนวน     2,000,000   บาท
2  งบ กปร.                            จำนวน            -          บาท
3  งบอื่น ๆ (ระบุ)                     จำนวน            -          บาท

แผนการดำเนินงาน

หน่วยปฏิบัติ/งานที่ปฏิบัติ

หน่วยนับ

ปริมาณงาน

ประเภทรายจ่าย (บาท)

งบดำเนินงาน

งบลงทุน

รวมทั้งสิ้น

ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

1. งานอำนวยการและบริหารโครงการ

1

งาน

200,000

-

200,000

2. งานธนาคารอาหารชุมชน

1

งาน

250,000

-

250,000

3.งานประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1

งาน

100,000

-

100,000

4.งานสำรวจจัดทำข้อมูลพื้นฐาน

1

งาน

50,000

-

50,000

5. งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่

1

งาน

300,000

-

300,000

6. ส่งเสริมการปลูกไม้ 3 อย่าง  ประโยชน์  4  อย่างตาม
พระราชดำริ

1

งาน

300,000

-

300,000

7. ปลูกป่าทั่วไป

100

ไร่

-

250,000

250,000

8. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน

110

แห่ง

-

550,000

550,000

รวม

 

 

1,200,000

800,000

2,000,000

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1  พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  เพิ่มมากขึ้นและคงความอุดมสมบูรณ์  ชุมชนได้รับประโยชน์หลากหลายอย่าง อย่างเช่น   มีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภคตลอดปี  มีน้ำทำการเกษตรพอเพียง  ลดความ สูญเสียจากภัยธรรมชาติ  เป็นแหล่งไม้ใช้สอย  เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ  ฯลฯ
2  ชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ได้รับการพัฒนาการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน  และสนับสนุนปัจจัยการ ผลิตต่าง ๆ ฯลฯ
3  ชุมชนเกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และช่วยกันปกป้องทรัพยากรดิน  น้ำ และป่าไม้ ให้ คงอยู่ตลอดไป

ผลการดำเนินงาน

ดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาอาคารสำนักงาน  จัดทำแปลงปลูกป่าธนาคารอาหารชุมชน   ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน  พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร  จัดทำแปลงปลูกไม้   3 อย่าง  ประโยชน์   4  อย่าง  ปลูกฟื้นฟูป่า  100  ไร่   และจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน   110  แห่ง
รูปภาพกิจกรรม

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

ปัญหาอุปสรรค การเดินทางคมนาคมมีความยากลำบากและทุรกันดารโดยเฉพาะในฤดูฝน การติดต่อสื่อสารกับภายนอกชุมชน มีความยากลำบาก ไม่มียานพาหนะในการปฏิบัติงาน ชาวบ้านยากจนและไม่ได้รับการศึกษา การส่งเสริมให้ความรู้และการสื่อความหมายภาษากะเหรี่ยงจึงมีความยากลำบาก
แนวทางแก้ไขปัญหา คือ การปรับปรุงขยายถนนและจัดสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ 2 แห่ง การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์มือถือ หน่วยงานต้นสังกัดสนับสนุนยานพาหนะปฏิบัติงาน และการจัดสร้างโรงเรียนในชุมชน

หน่วยงานหลัก

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16

หน่วยงานร่วมโครงการ

-