Page 24 - Book Corubtion Chiangmai_Plate.indd
P. 24
กรณีตัวอย่าง
หน่วยงานภาครัฐหนึ่ง ส่งนักทรัพยากรบุคคลที่ทำาหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง
(HR Procurement) ให้เข้าร่วมสัมมนาด้านทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่ผู้นั้น
ได้รับรางวัลมูลค่า 7,000 บาท จากการเป็นผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีบุคลิกเป็น
Personnel Planner ซึ่งบริจาคโดยโรงงานผลิตสินค้าที่เป็นคู่ค้ากับหน่วยงาน
เจ้าหน้าที่ได้เก็บของรางวัลนั้นไว้โดยไม่ได้รายงานหน่วยงานเนื่องจากคิดว่าเป็น
รางวัลที่ตนชนะจากการเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนา
ผู้บังคับบัญชาตระหนักถึงความหมายที่อาจแอบแฝงมาจากการให้ และ
ตัดสินใจว่าจะต้องมีการรายงานของรางวัลนั้นและลงทะเบียนเป็นของหน่วยงาน
โดยให้เหตุผลว่าการปรากฏตัวของเขาในการเข้าร่วมสัมมนาเป็นเพราะได้รับการ
สนับสนุนจากหน่วยงาน ดังนั้น เป็นความชอบธรรมของหน่วยงานที่จะตัดสินว่า
จะจัดการอย่างไรกับรางวัลชิ้นนี้
เนื่องจากราคาของของรางวัลและบทบาทในหน้าที่มีความเสี่ยงในเรื่อง
ผลประโยชน์ ในที่สุดเจ้าหน้าที่จึงถูกขอร้องให้สละรางวัลแก่หน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์
ตามความเหมาะสม
นอกจากการรับรางวัลหรือผลประโยชน์อื่นใดดังกล่าวแล้ว ประโยชน์ทับซ้อน
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไข พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2558 ยังได้กำาหนดในเรื่องการ
เข้าไปมีส่วนได้เสีย ตามมาตรา 100 และมีโทษจำาคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน
60,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับและเป็นความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่ หรือทุจริต
ต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา
22