Page 5 - Book Corubtion Chiangmai_Plate.indd
P. 5

เกริ่นนำ�




                การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นประเภทหนึ่ง เพราะเป็น
           การแสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคลโดยการละเมิดต่อกฎหมาย หรือจริยธรรม ด้วยการใช้อำานาจ
           ในตำาแหน่งหน้าที่ไปแทรกแซง  การใช้ดุลยพินิจในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
           จนทำาให้เกิดการละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สาธารณะขาดความเป็นอิสระ

           ความเป็นกลาง  และความเป็นธรรม  ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะของส่วนรวม
           และทำาให้ผลประโยชน์หลักขององค์กร  หน่วยงาน  สถาบันและสังคมต้องสูญเสียไป  โดย
           ผลประโยชน์สูญเสียไปอาจอยู่ในรูปของผลประโยชน์ทางการเงิน คุณภาพการให้บริการ
           ความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงคุณค่าอื่น ๆ ตลอดจนโอกาสในอนาคตตั้งแต่ระบบองค์กร
           จนถึงระดับสังคม  ตัวอย่างเช่น  การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด
           จากผู้ประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการอนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการใด ๆ
           หรือแลกเปลี่ยนกับการละเว้นการยกเว้น  หรือการจัดการประมูลทรัพย์สินของรัฐเพื่อ
           ประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและพวกพ้อง  ฯลฯ  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม  ท่ามกลาง
           ผู้ที่จงใจกระทำาความผิดยังพบผู้กระทำาความผิดโดยเจตนา  หรือไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว

           อีกเป็นจำานวนมาก  จนนำาไปสู่การถูกกล่าวหาร้องเรียนเรื่องทุจริตหรือถูกลงโทษทางอาญา
           ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of
           interest : COI) เป็นประเด็นปัญหาทางการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหา
           การทุจริตประพฤติมิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น  ยังสะท้อนปัญหาการขาดหลักธรรมาภิบาล
           และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ  ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนได้
           มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ  โดยประกาศใช้ใน
           ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์

           2553  มาตรา  279  กำาหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
           ข้าราชการ  หรือเจ้าที่ของรัฐ  แต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำาหนดขึ้น
           โดยจะต้องมีกลไกและระบบในการดำาเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
           รวมทั้งกำาหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำา  การฝ่าฝืนหรือ
           ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำาผิดทางวินัย




                                          3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10