โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ  ห้วยแม่เกี๋ยง

ความเป็นมา/พระราชดำริ/พระราชเสาวนีย์

เมื่อวันที่  27  มกราคม  2546  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทอดพระเนตรพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่เกี๋ยง ตำบลเมืองนะ  อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแม่ทัพภาคที่  3,  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร, ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 16  ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ซึ่งนายวิชัย  กิจมี  หัวหน้าฝ่ายโครงการพิเศษ ได้ถวายรายงานเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่เกี๋ยง  อาทิ  ภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  สภาพป่า ตลอดจนลักษณะการใช้ประโยชน์พื้นที่รวมทั้งชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ สภาพปัญหา และถวายรายงานเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาบริเวณดังกล่าวต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยแล้ว  ทรงรับพื้นที่แห่งนี้ให้จัดตั้งสถานีทดลองการเกษตรบนที่สูง และดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วง
เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านห้วยแม่เกี๋ยง  ตำบลเมืองนะ  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. เพื่อทดลองสาธิตปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงทั้งพืชผัก ไม้ดอก และไม้ผลเมืองหนาว อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่งจ้างงานให้ราษฎรในหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน
3. เพื่อการสกัดกั้นการบุกรุกแผ้วถางป่าบริเวณดังกล่าว โดยการจัดระเบียบชุมชนที่ใกล้เคียงตลอด จนปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ รวมทั้งเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อปล่อยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนป่าและต่อต้านยาเสพติด

เป้าหมายโครงการ                    

 พื้นที่เป้าหมายหมู่บ้านเมืองนะ ,หมู่บ้านนาศิริ,   หมู่บ้านห้วยแม่เกี๋ยง,  หมู่บ้านเจียจันทร์พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบ้านห้วยแม่เกี๋ยง ตลอดจนชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงและ   ฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ

งบประมาณ

-

ผลการดำเนินงาน

1. แผนงานพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่า
1.1 ปลูกสร้างสวนป่าหวาย                                     150        ไร่
1.2  ปลูกป่าไม้ใช้สอย                                           50         ไร่
1.3  ปรับปรุงระบบนิเวศน้ำ                                     300         ไร่
1.4  เพาะชำหญ้าแฝก                                      20,000         กล้า
1.5  เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป                                 20,000          กล้า
1.6  เพาะชำกล้าหวาย                                     20,000          กล้า
1.7  เพาะชำกล้าไม้มีค่า                                   20,000          กล้า
1.8  บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี                        200          ไร่
1.9  บำรุงป่าไม้ใช้สอย                                        300          ไร่
1.10  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ ปีที่ 2-6 ปี              1,200         ไร่
1.11  บำรุงสวนป่าหวายปีที่ 2-6 ปี                             50         ไร่
1.12  แนวกันไฟ                                                    5         กม.
1.13  ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร                                    2          แห่ง
1.14  ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน                               40         แห่ง
15  งานอำนวยการบริหารโครงการ                             1         งาน
16  งานสนับสนุนชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน            1         งาน
2. แผนงานบริหารโครงการ
2.1 งานอำนวยการบริหารโครงการ                            1         งาน
2.2 งานสนับสนุนชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน และดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ 1 งาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถนำความรู้ทางด้านการเกษตรไปใช้ใน ชีวิตประจำวันและดำรงชีพอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน   

       จากการดำเนินงานของโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ  ห้วยแม่เกี๋ยง  นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน  สามารถสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่าของราษฎรในพื้นที่โครงการฯและบริเวณโดยรอบ โครงการฯได้ดำเนินการปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ และสร้างฝายต้นน้ำเพื่อดักตะกอนและชะลออัตราการไหลของน้ำตามลำห้วยทำให้มีการกระจายความชุ่มชื้นให้ กับพื้นที่ จากผลการดำเนินงานพบว่า สภาพป่าบริเวณโดยรอบเริ่มฟื้นคืนกลับมาหลังมีการปลูกป่าและพื้นที่สองฝั่งลำธารบนพื้นที่ต้นน้ำมีความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการสร้างฝายทำให้ความหนาแน่นของพันธุ์พืช  ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย             
       ด้านคุณภาพชีวิต โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ห้วยแม่เกี๋ยง เป็นแหล่งความรู้ทางด้านการเกษตรที่สูง ราษฎรนอกจากจะมีรายได้จากการทำงานกับโครงการฯ แล้วยังสามารถนำความรู้จากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นการทำการเกษตรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไปใช้ สร้างรายได้ให้กับตนเอง ทำให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รูปภาพกิจกรรม

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

การคมนาคมบางช่วงมีความอยากลำบาก หากได้รับการสนับสนุนในการปรับปรุงเส้นทาง ซึ่งทำให้มีความสะดวกในการขนผลผลิตทางการเกษตรได้ดีขึ้น

หน่วยงานหลัก

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16

หน่วยงานร่วมโครงการ

  1. กองทัพภาคที่ 3  โดยกองพันทหารราบที่ 2  กรมทหารราบที่ 7
  2. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
  3. กรมพัฒนาที่ดิน
  4. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 1
  5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่
  6. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา แม่แฝก – แม่งัด
  7. สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
  8. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
  9. การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่
  10. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
  11. อุทยานแห่งชาติเชียงดาว                          
  12. 12.  หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32