โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา

                 เมื่อวันที่  12  มีนาคม  2535  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร บ.ยั้งเมิน  อ.สะเมิง  จ.เชียงใหม่  ซึ่งมีฐานะยากจนและสภาพป่ายังคงอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ได้ทรงมีพระราชดำริกับแม่ทัพภาคที่  3 , ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ , เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  และผู้เกี่ยวข้อง เรื่องแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในเขตป่าสงวนแหงชาติป่าสะเมิง ดังนี้ เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

สถานที่ดำเนินการ อำเภอสะเมิง  จังหวัดเชียงใหม่  ประกอบ ด้วย  5  ตำบล  ดังนี้ ต.สะเมิงใต้ ต.แม่สาบ ต.สะเมิงเหนือ ต.บ่อแก้ว และ ต.ยั้งเมิน แผนที่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1  เพื่อรักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ ไม่ให้ถูกทำลายต่อไป ตลอดจนอนุรักษ์สัตว์ป่าและรักษาสภาพแวดล้อม
2  เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยให้มีทั้งป่าธรรมชาติ และไม้ใช้สอย
3  เพื่อให้ราษฎรมีที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง มีการส่งเสริมด้านการเกษตรให้ทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดหาแหล่งน้ำ โดยมิให้ตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป  

เป้าหมายโครงการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร

งบประมาณ

- ล้านบาท

แผนการดำเนินงาน

งานปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
- ส่งเสริมกลยุทธ์ 3อ. (อิ่ม อุ่น อุดมการณ์) จำนวน 3 หมู่บ้าน (บ้านแม่ตุงติง , บ้านอังคาย และบ้านห้วยเต่า) , ส่งเสริมงานธนาคารอาหารชุมชน และงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
งานฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
- ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ, ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ ปีที่ 2 – 6, ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ ปีที่ 7 – 10, บำรุงป่าไม้ใช้สอย, บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2 - 6 ปี, ปลูกป่าทั่วไป, เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป, เพาะชำกล้าไม้มีค่า, เพาะชำกล้าหวาย , ทำแนวกันไฟ และจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน
งานบริหารโครงการ
- งานอำนวยการประชาสัมพันธ์ ประสานงานให้ปฏิบัติตามแผนงานจำนวน 1 งาน
- งานศูนย์ปฏิบัติการบ้านแม่ตุงติง เพื่อควบคุม ดูแล สั่งการให้การปฏิบัติงานทุกงาน เป็นไปตามแผน จำนวน 1 งาน
- งานฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ตุงติง จำนวน 1 งาน มีกิจกรรมได้แก่
    1. ส่งเสริมการเลี้ยงเก้ง , เนื้อทราย , กระต่าย ไก่ป่าตุ้มหูแดง และพันธุ์นกสวยงาม
    2. ส่งเสริมการปลูกไม้ใช้สอยเอนกประสงค์
- งานศูนย์ศิลปาชีพ ได้แก่กลุ่มทอผ้า กลุ่มแกะสลัก กลุ่มจักสาน กลุ่มตีเหล็ก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- รักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์ไม่ให้ถูกทำลายได้ในพื้นที่ 567,500 ไร่ อนุรักษ์สัตว์ป่าและรักษาสภาพแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรม ให้คืนสู่สภาพที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยมีทั้งป่าธรรมชาติและไม้ใช้สอย
- ราษฎรมีที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง และใช้ที่ทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายสมหวัง  ไชยศรี    ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 สังกัด  กลุ่มประสานงานโครงการพระราชดำริ โทรศัพท์ / โทรสาร  053-281390

หน่วยงานร่วมโครงการ

1.  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
2.  อำเภอสะเมิง
3.  โครงการชลประทานเชียงใหม่
4.  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสะเมิง
5.  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1
6.  สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่
7.  หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32
8.  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่
9.  ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่
10.  ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
11.  บริษัทสวนดอก วี.เอส.ที.บ้านปางขุม