โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ   เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง  พื้นที่อำเภอดอยเต่า  จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา/พระราชดำริ

เมื่อวันที่ ๓๐  มกราคม  ๒๕๔๙  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านแม่บวนเหนือ  แม่บวนใต้  ตำบลโป่งทุ่ง  อำเภอดอยเต่า  จังหวัดเชียงใหม่  และรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรจากปัญหาภัยแล้ง  เนื่องจากสภาวะฝนตกทิ้งช่วง  ที่ทำให้อ่างเก็บน้ำแม่ตูบ  ซึ่งยังมีสภาพดีในปัจจุบันมีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ประโยชน์ของราษฎร  และได้มีพระราชดำริให้พิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือราษฎร  ซึ่งกรมชลประทานได้ตรวจสอบพื้นที่และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่หาดที่อยู่ด้านข้างอ่างเก็บน้ำแม่ตูบ  ซึ่งมีปริมาณน้ำเต็มและล้นทางระบายน้ำทุกปี  โดยผันน้ำส่วนที่เกินไปเติมให้กับอ่างเก็บน้ำแม่ตูบ
พระราชดำริ โดยสรุป
1. การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค – บริโภคของราษฎร
2. การฟื้นฟูสภาพป่าและสภาพแวดล้อม
3. การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านแม่บวนเหนือ , บ้านแม่บวนใต้ , บ้านแม่ตูบ  และบ้านโป่งโค้ง ตำบล    โปงทุ่ง       อำเภอ   ดอยเต่า    จังหวัด    เชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.  เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำแม่ตูบให้มีปริมาณมากเพียงพอที่จะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตร  และการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในพื้นที่อำเภอดอยเต่าให้บรรเทาความเดือดร้อนจากสภาวะปัญหาความแห้งแล้ง
2.  เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธาร  ระบบนิเวศ  ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์  โดยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ให้สามารถยังประโยชน์หล่อเลี้ยงวิถีชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดีได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายโครงการ                      

- เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง
- ให้ราษฎรมีน้ำใช้ในการอุปโภค – บริโภค  และมีรายได้

งบประมาณ

1  งบปกติ                                        จำนวน                   500,000                 บาท
2  งบ  กปร.                                      จำนวน                4,051,830                บาท

แผนการดำเนินงาน                      

1. งานอำนวยการ                                                1 งาน
2. งานฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)  4 รุ่น
3. เพาะชำหญ้าแฝก                                     35,000 กล้า
4. เพาะชำกล้าไม้ใหญ่                                  25,000 กล้า
5. เพาะชำกล้าหวาย                                       5,000 กล้า
6. ปลูกสร้างสวนป่าหวาย                                    100 ไร่
7. ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ                            1,000 ไร่
8. ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ ปีที่ 2 - 6               1,800 ไร่
9. แนวกันไฟ                                                     28 กิโลเมตร
10. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน                                50 แห่ง
11. ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร                                     4 แห่ง
12. ฝายต้นน้ำแบบถาวร                                        2 แห่ง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  คาดว่าการดำเนินงานโครงการพัฒนาดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับทำการเกษตร  อุปโภค – บริโภค   และแก้ปัญหาภัยแล้ง   ในระยะยาวให้แก่ ราษฎรหมู่บ้านต่าง ๆ  ในพื้นที่อำเภอดอยเต่าให้เป็นผลสำเร็จ
2. ช่วยให้ราษฎรมีอาชีพเสริม   มีงานทำ   มีรายได้   และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. ช่วยให้การฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมบริเวณ   ภูไม้ตอง   จำนวน  1,800  ไร่  กลับคืน สภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม

ผลการดำเนินงาน

           จากการดำเนินงานนับแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน   โครงการได้ดำเนินการปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์เพื่อเพิ่มความหนาแน่นให้แก่พื้นที่    มีการปลูกสร้างสวนป่าหวายเพื่อไว้เป็นอาหารและนำไปทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสาน   และสร้างฝายดักตะกอน  ชะลอการไหลของน้ำในลำห้วย   ทำให้มีการกระจายความชุ่มชื้น   ราษฎรมีน้ำอุปโภค – บริโภคเพิ่มขึ้น  
           ด้านคุณภาพชีวิต    ราษฎรนอกจากจะมีรายได้จากการทำงานกับโครงการฯ  แล้วยังสามารถนำความรู้จากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นการทำการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ   ทำเครื่องจักรสาน   ตั้งกลุ่มทอผ้า   เป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว   เพื่อทำให้ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น 

ปัญหาและอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

ปัญหา
1. ยานพาหนะไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน โครงการฯ ได้ยืมยานพาหนะของหน่วยงานใกล้เคียงมาใช้ปฏิบัติงาน ซึ่งบางครั้งยากต่อการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้งานล่าช้า ไม่ตรงตามเป้าหมาย และในการเข้าปฏิบัติงานจิตวิทยาชุมชนเจ้าหน้าที่ของโครงการฯ ได้นำรถจักรยานยนต์ส่วนตัวเข้ามาใช้งาน จึงทำให้งานสามารถสำเร็จลุล่วงได้
2. การติดต่อสื่อสารในพื้นที่ ไม่สามารถสื่อสารได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่หุบเขา ต้องใช้วิทยุสื่อสารในการปฏิบัติงาน โครงการฯ ยังขาดอุปกรณ์ในการสื่อสารเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีจัดการประชุมในระดับโครงการฯ เพื่อประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ไตรมาสละครั้ง เพื่อทราบรายละเอียดการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ
2. ควรปรับข้อมูลพื้นฐานในระดับอำเภอให้ตรงกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานต่อไป

หน่วยงานหลัก

อำเภอดอยเต่า

หน่วยงานร่วมโครงการ

1.  สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่
2.  มณฑลทหารบกที่  33
3.  สถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
4.  องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
5.  สำนักงานพัฒนาภาค  3  หน่วยช่างพัฒนา
6.  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
7.  สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต  3   เชียงใหม่
8.  สำนักงานชลประทานที่  1
9.  เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่  เขต  5
10.   สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่  6   จังหวัดเชียงใหม่
11.   สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่  1
12.   สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่
13.   สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
14.   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
15.   สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
16.   สำนักพัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่
17.   สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
18.   สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
19.  โครงการชลประทานเชียงใหม่
20.   กรมแรงงานจังหวัดเชียงใหม่
21.   สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่
22.   ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
23.   สำนักอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่
24.   สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
25.   วิทยาลัยการอาชีพจังหวัดเชียงใหม่
26.   สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
27.   ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเชียงใหม่
28.   ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ   เชียงใหม่
29.   ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงใหม่
30.   ศูนย์ควบคุมไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่
31.   สำนักงานพัฒนาที่ดินเชียงใหม่
32.   สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
33.   สำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่
34.   นิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพล
35.   สำนักงานป่าไม้สาขาจังหวัดเชียงใหม่
36.   ส่วนอุทกวิทยา   (เชียงใหม่)
37.   สำนักงานอำเภอดอยเต่า
38.  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดเชียงใหม่